วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ท่าเต้นแอโรบิค ต่างๆ













ตัวอย่างท่าเต้นแอโรบิก



1. การย่ำเท้า Marching คือ การย่ำเท้าอยู่กับที่ ส่วนใหญ่แล้วจะย่ำเท้า 2 แบบคือ แบบกว้าง          ( Marching Out ) และแบบแคบ( Marching In )
2. การเดิน ( Walking ) คือ การก้าวเท้าไปยังทิศทางที่เคลื่อนที่ไป มีการถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง การเดินนั้นสามารถเดินไปข้างหน้า ข้างหลัง หรือเฉียง หรือเดินเป็นรูป
3. ก้าวรูปสี่เหลี่ยม ( Easy Walk ) คือ การก้าวเดินไปข้าง 1 ก้าว ถอยหลัง 1 ก้าว ลักษณะคล้าย V-step แต่วางเท้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรืการก้าวเดิน
4. การก้าวแตะ ( Step Touch สเต็ปทัช) คือ การยกเท้าหนึ่งไปด้านข้างแล้วยกเท้าอีกข้างหนึ่งไปแตะแล้วทำสลับกัน ทิศทางการเคลื่อนไหวจะเป็นการก้าวแตะที่อยู่กับที่ หรือทำเป็นรูปตัวแอล หรือก้าวแตะหมุนรอบตัวเองก็ได้
5. ส้นเท้าแตะ ( Hell Touch ฮีลทัช) คือการแตะด้วยส้นเท้าข้างใดข้างหนึ่ง โดยแตะข้างหน้าหรือด้านหลังก็ได้
6. ปลายเท้าแตะด้านข้าง ( Side Tap ไซด์แทบ) คือการแตะด้วยปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งโดยแตะด้านข้างหน้าซ้าย-ขวา สลับกัน
7. การยกส้นเท้า ( Lek Curl เล็คเคอ) คือการยกส้นเท้าขึ้นไปที่สะโพกด้านหลัง หรือการพับส้นเท้าไปด้านหลัง การทำ Hamstring Curl หรือ Hamstring Curl Lek Curl นั้นทำได้ทั้งที่อยู่กับที่หรือหมุนรอบตัวเอง (แฮมสตริงเคอ)
8. ก้าวไขว้ก้าวแตะ ( Grapevine เกรพวาย ) ก้าวไขว้ก้าวแตะ หรือเกรพวายคือการทำก้าวไขว้ขาไปหลังหรือหน้าก็ได้ การทำเกรพวายนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น เกรพวายธรรมดา หรือเกรพวายเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือเกรพวายหมุน 180 องศา
9. แมมโบ้ ( Membo ) คือการก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งไปข้างหน้าแล้วย่อเข่าลงแล้วนำกลับสู่ที่เดิม และเปลี่ยนข้างทำ การทำแมมโบ้สามารถทำได้ทั้งข้างหน้าและด้านข้างก็ได้
10. ยกเข่า ( Knee Up นีอัพ) เป็นท่าการเคลื่อนไหวพื้นฐานในการพัฒนากล้ามเนื้อขาหรือ Knee Lift ได้อย่างดีดังนั้นแอโรบิก ด๊านซ์ทุกประเภทจึงมีท่าการยกเข่าทั้งการยกเข่าด้านหน้า ( Front Knee Lift )หรือ นีลีฟ ด้านข้าง ( Side Knee Lift ) การยกเข่าเฉียง ( Knee Cross )
11. การแตะขา ( Kick คิก ) การแตะขา ไปใช้ในทิศทางต่าง ๆ ทั้งการแตะไปด้านหน้า             ( foreward ) เฉียง ( cross ) หลัง ( backward )และข้าง( sideward ) การแตะขาที่ถูกต้องควาเป็นการแตะขาไม่ใช่การสะบัดเข่า
12. ก้าวชิดก้าวแตะ ( Two Step ทูสเต็ป) คือการทำก้าวชิดก้าวแตะ หรือการทำก้าวแตะ 2 ครั้ง
13. สควอท ( Squats ) คือการนั่งยอง ๆ หรือ ย่อ ยืด ควรนั่งให้มุมสะโพกและเท้าเป็นมุม 90 % เท่านั้น ไม่ควรนั่งให้สะโพกชิดส้นเท้าเพราะจะทำให้เอ็นหรือกระดูกอ่อนที่หัวเข่ายืดมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เข่าเจ็บ
14. ช่า ช่า ช่า( Cha Cha Cha ) คือการก้าวใดเท้าหนึ่งไขว้ไปด้านหน้า ย่ำเท้าหลัง แล้วนำเท้ากลับที่ก้าวไปข้างหน้ากลับมา ย่ำ ย่ำ ย่ำ สลับเท้า
15. ส่ายสะโพก ( Twis ) คือการส่ายสะโพกซ้าย ขวา สลับกัน
16. Step Knee คือการย่ำเท้า 1-2 ก้าวขึ้นบน 3 แล้วยกเข่า



พื้นฐาน การเต้นแอโรบิค

การเต้นแอโรบิค(Aerobic Exercise) คือการออกกำลังบริหารร่างกายเพิ่มการเผาผลาญออกซิเจน
ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน โดยประยุกต์ท่ากายบริหารให้เข้ากับจังหวะดนตรีต่างๆ
ประโยชน์ของการเต้นแอโรบิค

การเต้นแอโรบิคอย่างเพียงพอและฝึกเป็นประจำสม่ำเสมอจะมีผลดีต่อร่างกายดังนี้
1.ระบบกล้ามเนื้อ
ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สามารถเกร็งและคลายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการทำงานที่สมดุลกัน และทำให้รูปร่างสวยงามสมส่วนขึ้น เพราะว่าไขมันที่มาห่อหุ้มร่างกายอยู่ได้ถูกนำไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน นอกจากนั้นยังจะช่วยทำให้มีการสะสมสารต้นกำเนิดพลังงานและสารที่เกี่ยวข้อง คือไกลโคลเจน เกลือแร่ ฯลฯ อีกด้วย
2.ระบบกระดูก ทำให้ข้อต่อและระบบประสาทสั่งงาน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ระบบการไหลเวียนของโลหิต
ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น หลอดเลือดต่างๆ มีความยืดหยุ่นดีขึ้น สามารถช่วยเพิ่มประมาณและคุณภาพของเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังจะช่วยทำให้ชีพจรและความดันโลหิตกลับเข้าสู่สภาพปกติได้อีกด้วย
4.ระบบการหายใจ
ช่วยให้ทางเดินหายใจ ปอด และ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น
5.ระบบเผาผลาญอาหารในร่างกายช่วยเพิ่มอัตราความเร็วของขบวนการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานของร่างกาย ช่วยทำลายเซลเสื่อมสภาพต่าง ๆ เพื่อเร่งให้ร่างกายสร้างเซลใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ นอกจากนี้ ยังช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น นอนหลับสบาย เมื่อตื่นขึ้นจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉง
6.ระบบควบคุม
ช่วยทำให้ร่างกายปรับสมดุลของระบบประสาทอัติโนมัติและระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนต่างๆ ออกมาอย่างเป็นปกติ
7.การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อและระบบประสาท
ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทสำหรับผู้ที่เคร่งเครียดกับการทำงานหนัก
8.บุคลิค การเคลื่อนไหว และการจัดระเบียบร่างกาย
ทำให้ควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น ร่างกายโดยรวมมีความอ่อนตัว และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น ทำให้อารมณ์เบิกบานและจิตใจแจ่มใส มีสง่าราศี
9.ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟีน
ซึ่งก่อให้เกิดความสุข เพราะว่าขณะออกกำลังกาย อย่างมีความสุข ไร้การแข่งขัน จึงไม่มีความเครียด ซึ่งต่างกับการออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน การออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน ร่างกายจะหลั่งสารคนละตัว มีชื่อว่า อดีนาลีน ซึ่งตัวนี้ จะก่อให้เกิดความเครียด ผลของการออกกำลังกายจะต่างกัน รูปร่างหน้าตาจะสดใสต่างกัน

ขั้นตอนการเต้นแอโรบิค
การเต้นแอโรบิค แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
อบอุ่นร่างกาย (Warm Up)
แอโรบิค(Aerobic)
ผ่อนคลาย (Cool Down)

การเตรียมตัวเพื่อการเต้นแอโรบิค
สวมเสื้อผ้าให้กระชับ พอดีตัว เพื่อความคล่องตัว
อย่าสวมเสื้อผ้าหนาจนเกินไป เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดีพอ อับชื้น เป็นบ่อเกิดให้เป็นเชื้อราทางผิวหนัง หรือสิว ตามตัวได้
สวมรองเท้าผ้าใบและถุงเท้าทุกครั้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเท้า
เตรียมน้ำ 1 ขวด เอาไว้ดื่มแก้กระหายในเวลาพักแต่ละช่วง เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ อาจจะช็อกได้
เตรียมผ้าขนหนู 1 ผืนเอาไว้ซับเหงื่อ
งดรับประทานอาหารก่อนการเต้นแอโรบิค 1.30-2.00 ชั่วโมง เนื่องจากอาจทำให้จุก เสียด อาเจียน ขณะเต้นแอโรบิคได้
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ตรวจสอบความพร้อมของร่างกายและขอคำปรึกษาก่อนเริ่มเต้นฯในครั้งแรกๆ เนื่องจากการเต้นแอโรบิคอาจจะเป็นการออกกำลังกายที่ถือว่าหนักเกินไป สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคหัวใจ หรือท่าบริหารบางท่าอาจจะทำให้ท่านบาดเจ็บได้ เช่นท่ากระโดด เมื่อข้อเข่าของท่านไม่แข็งแรง
ก่อนออกกำลังกายควรล้างเครื่องสำอางค์หรือครีมบำรุงผิวออกให้หมดทุกครั้ง เพื่อเป็นการเปิดผิว เวลาออกกำลังกาย เหงื่อจะได้ระบายออกได้โดยสะดวก สิ่งสกปรกไม่อุดตันรูขุมขน ผิวพรรณจะสดใส


การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ด๊านซ์
ความหมายของแอโรบิก ด๊านซ์ (Aerobic dance) 

          เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic exercise) ประเภทหนึ่งที่นำเพลงมาประกอบ  นายแพทย์เคนเนธ คูเปอร์ แพทย์ประจำกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ริเริ่มจัดโปรแกรมขึ้นมาจนมีผู้นิยมอย่างมาก  ซึ่งมีความหมายดังนี้
แอโรบิก (Aerobic) เป็นคำคุณศัพท์  หมายถึงการใช้อากาศ
แอโรบิก เอ็นเนอจี ดีลิเวอรี่  (Aerobic  energy  delivery)   หมายถึง  การสร้างพลังงานจากการใช้ออกซิเจนในการสันดาป
การออกกำลังกาย (Exercise) หมายถึงการออกแรงเคลื่อนไหว หรือใช้กิจกรรมกีฬาเป็นสื่อ

          การออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic exercise)   เป็นการออกกำลังกายที่ระยะเวลานานพอที่จะทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพื่อสร้างพลังงาน   ทำให้หัวใจและปอดถูกกระตุ้นเป็นเวลานานพอที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ขึ้นในร่างกาย การออกกำลังกายที่ถือว่าเป็นแอโรบิกนั้นมีองค์ประกอบ 4  อย่างคือ ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ เช่น แขน ขา, หนักพอ, นานพอ และต้องทำติดต่อกัน 
          เป็นการออกกำลังกายแบบหนักพอ   คือให้ออกกำลังกายให้หนักประมาณ  70-75%  ของความสามารถสูงสุดของอัตราการเต้นของหัวใจของแต่ละบุคคล   ซึ่งจะดูได้จากการจับชีพจร (ที่ข้อมือหรือ ที่คอ) ชีพจรต้องเต้นจนถึงขนาดกำหนดตามอายุของแต่ละคน  (หากอายุมากขึ้น จะมีชีพจรสูงสุดในการทำงานลดลง)   จึงจะถือว่าการออกกำลังกายนั้นหนักพอ  ในการคำนวณหาความสามารถสูงสุด  =  220 - อายุ เช่นคนอายุ 25 ปี   มีความสามารถสูงสุด = 220-25 = 195 และ 70-75% ของ 195 = 136-140 ครั้ง ต่อนาที
          เป็นการออกกำลังกายที่นานพอ  เมื่อรู้สึกว่าหนักพอแค่ไหนแล้ว  นานพอก็ง่ายขึ้น  คือเมื่อออกกำลังการจนชีพจรขึ้นไปถึงระดับที่กำหนดแล้ว ก็ทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ โดยคงชีพจรไว้อย่างน้อยระดับนี้  เป็นเวลา 15 - 20  นาทีก็ใช้ได้   ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายได้ใช้ออกซิเจนไปช่วยเผาผลาญให้เกิดพลังงานที่เรียกว่า แอโรบิกนั่นเอง

ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ด๊านซ์

1.  สุขภาพทั่วไปแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น  ทำให้มีเรี่ยวแรงต่อสู้กับกิจการงานโดยไม่เหนื่อยอ่อนเพลียง่าย
2.  อาหารย่อยได้ดีขึ้น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว อาหารไม่ย่อยจะหมดไป
3.  ขับถ่ายสบาย และท้องไม่ผูก
4.  นอนหลับง่าย และได้สนิทขึ้น
5.  ลดความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์ซึมเศร้า หรืออาการประสาทอื่น ๆ
6.  ทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่
7.  ทำให้ไม่อยากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
8.  สมรรถภาพทางเพศจะดีขึ้น
9.  ลดความอ้วนได้ผลดีที่สุด
10.  ทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ปลอดโปร่ง อารมณ์เยือกเย็นมั่นคงขึ้น
11.  ความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น
12.  สติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น
13.  กระดูกแข็งแรงขึ้น แม้อายุจะมากขึ้นก็ตาม
14.  หัวใจแข็งแรงขึ้น เป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจได้ผลดีที่สุด
15. ช่วยฟื้นฟูสภาพหัวใจที่ผิดปกติ เช่น หลอดเลือดโคโรนารี่ ของหัวใจตีบตัน

           แอโรบิก ด๊านซ์ (Aerobic dance)  เป็นการออกกำลังกายที่แตกต่างไปจากการบริหารร่างกายอื่นๆ เพราะเป็นการนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิกมาเข้าจังหวะกับเพลง ด้วยการนำท่ากายบริหาร  ท่าเต้นรำ การฝึกร่างกายแบบโยคะ  มาผสมผสานกันโดยให้ท่าทางต่างๆ  เข้ากับจังหวะเพลง   ซึ่งมีผลส่งเสริมระบบการทำงานของหัวใจให้ดีขึ้น  สร้างสรรค์ความอดทนและความแข็งแรงของหัวใจ  ปอด  และระบบการไหล เวียนโลหิตดีขึ้น ซึ่งผู้ค้นพบการนำเอาวิธีการออกกำลังกายแบบแอโรบิคมาผสมผสานให้เข้ากับจังหวะเพลงจนเป็นแอโรบิก ด๊านซ์  คือ ดร.สจ๊วต  เบอร์เกอร์  การออกกำลังกายแบบนี้จะได้ผลดีอยู่ที่การฝึกระบบหายใจ โดยการกำหนดลมหายใจเข้าออก  ตามการเคลื่อนไหวของร่างกายตามจังหวะเพลงด้วย  ลีลาท่วงทีในการออกกำลังกายที่ตื่นเต้นเร้าใจ   คล้ายกับการเต้นรำทั่วไป    จึงเป็นการออกกำลังกายที่สนุก เพราะทำเป็นกลุ่ม  และจังหวะดนตรีช่วยให้ลืมความเหน็ดเหนื่อย และความเบื่อหน่ายได้
 
อุปกรณ์ที่ใช้ในการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ด๊านซ์

1.  เสื้อผ้าที่เหมาะสม
2.  รองเท้าที่เหมาะสม
3.  เทปเพลงและเครื่องบันทึกเสียง
4.  พื้นห้องควรมีการยืดหยุ่น

วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับแอโรบิก ด๊านซ์

1.  ใช้เวลาในการปฏิบัติ 30-45 นาที
2.  แอโรบิก ด๊านซ์ ได้แบ่งการออกกำลังกายเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
     2.1  ช่วงอบอุ่นร่างกาย  (Warm up)  เป็นการอุ่นเครื่องให้กล้ามเนื้อเริ่มทำงาน  ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น พร้อมที่จะออกกำลังมากกว่าปกติ  ถ้าหากออกกำลังกายโดยไม่มีการอุ่นร่างกายก่อน อาจทำให้กล้ามเนื้อเป็นอันตรายได้ เช่น กล้ามเนื้อ ฉีก เคล็ด หรือขัดยอกเป็นต้น
    2.2  ช่วงแอโรบิก  (Aerobic)  เป็นขั้นตอนของการบริหารร่างกาย  จะช่วยให้กล้ามเนื้อทุกส่วนได้ทำงาน  ซึ่งเป็นผลทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น สามารถเพิ่มหรือลดบางส่วนของร่างกายได้
    2.3  ช่วงผ่อนคลาย (Cool  down)  เป็นการบริหารอย่างช้าๆ  เพื่อทำให้กล้ามเนื้อที่เพิ่ง ทำงานหนักค่อยๆ ผ่อนคลาย  รวมทั้งลดการทำงานของหัวใจให้เข้าสู่สภาวะปกติ  ในขั้นนี้จะเน้นการหายใจ เข้า ออก อย่างช้าๆ  ทำร่างกายให้สบายและผ่อนคลายที่สุด

ข้อแนะนำในการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ด๊านซ์

1.  ความปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ   หลังจากวันแรกของการออกกำลังกายเป็นสิ่งปกติ  เพราะความปวดเมื่อยจะค่อยๆ  หายไปใน 3-7 วัน  แต่เพื่อลดความปวดเมื่อยควรจะเริ่มออกกำลังกายแต่น้อยในท่าที่ง่าย  แล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนและความยากขึ้น   เมื่อมีอาการปวดเมื่อยอย่าหยุดการออกกำลังกายเลยทีเดียว  ให้ยืดกล้ามเนื้อต่างๆ และค่อยๆ ทำซ้ำกับกล้ามเนื้อที่ปวดเมื่อย  การอาบน้ำหรือแช่น้ำอุ่น  หลังการออกกำลังกายจะช่วยได้มาก    การอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลาย   ก็จะช่วยลดและบรรเทาความปวดเมื่อยในวันถัดไปได้
2.  อย่าออกกำลังกายหลังจากที่รับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ  วิธีที่ดีที่สุดคือ ออกกำลังกาย   ตอนที่ท้องยังว่างมิฉะนั้นจะเกิดอาการจุกเสียดได้
3.  การออกกำลังกายควรหายใจเข้าและออกเป็นจังหวะ
4.  หากเป็นโรคหัวใจความดันสูงมากๆ ขณะตั้งครรภ์ โรคปวดหลัง และคนที่เป็นโรคอ้วนมากๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะออกกำลังกาย
5.  ควรใส่รองเท้าขณะออกกำลังกาย  เนื่องจากแอโรบิก ด๊านซ์  ต้องมีการเคลื่อนไหวตัวไปมาอยู่เสมอรวมทั้งการกระโดด   ซึ่งรองเท้าแอโรบิกจะช่วยได้มาก  คือจะช่วยให้เท้ามีความมั่นคงขณะออกกำลังกาย รองเท้าจะช่วยบังคับเท้าไว้ไม่ให้ตะแคง หรือเลื่อนไปซ้ายขวา เวลาลงน้ำหนักเท้า ช่วยลดแรงกระแทก และคอยควบคุมการเคลื่อนไหวของเท้าไม่ให้เกิดอันตรายกับข้อต่อ หรือกระดูกต่างๆ ได้

รองเท้าที่จะนำมาใส่เล่นแอโรบิก  ด๊านซ์

        1. บริเวณส่วนบนของหุ้มส้น จะต้องสูงขึ้นและมีแผ่นนุ่มรองรับบริเวณตรงกับเอ็นร้อยหวาย เพื่อป้องกันไม่ให้ระคายเคืองต่อเอ็น
        2.  ด้านข้างของบริเวณหุ้มส้น ทั้งสองด้านจะต้องแข็งแรง เพื่อป้องกันการบิดหมุนของส้นเท้า ทำให้บริเวณส้นเกิดความมั่นคง
        3.  บริเวณปลายเท้าจะต้องนูนสูงขึ้น (อย่างน้อยครึ่งนิ้ว) เพื่อป้องกันมิให้นิ้วและเล็บเท้าถูกกดเบียด  ซึ่งจะทำให้เกิดเลือดคลั่งใต้เล็บได้  และช่วยยืดอายุการใช้งานของรองเท้าจากการเคลื่อนไหวตัวอย่างรวดเร็ว
       4.  ลิ้นรองเท้า ต้องบุให้นุ่ม  และปิดส่วนบนของฝ่าเท้าได้หมด  เพื่อป้องกันเอ็นและกล้ามเนื้อ กระดูกถูกเสียดสีและระคายเคืองจนอักเสบได้
       5.  บริเวณส้นของรองเท้าจะต้องฝานให้เป็นรูปมน เพื่อช่วยให้การเคลื่อนไหวในจังหวะต่อไปเป็นไปได้สะดวกและเร็วขึ้น
       6.  ที่ส้นเท้า จะยกสูงขึ้น และมีความยืดหยุ่นดีพอ เพื่อจะรองรับแรงกระแทกของส้นเท้าได้
       7.  พื้นรองเท้าบริเวณกึ่งกลางจะต้องพับงอได้  เพื่อการเคลื่อนไหวที่คล่องตัว   และป้องกันการบาดเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวาย
       8.  พื้นรองเท้าควรมีลาย ที่ช่วยลดแรงกระแทก และยึดเกาะพื้นไม่ให้ลื่น
        9.  ที่รองพื้นรองเท้าด้านในควรมีฟองน้ำเสริมอุ้งเท้า เพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บบริเวณส้นเท้า   และการอักเสบของพังพืดยึดกระดูกฝ่าเท้า

ข้อควรระวังการเต้นแอโรบิก

           การเต้นแอโรบิกเองมีข้อจำกัดเหมือนกับกีฬาชนิดอื่นๆ   โดยเฉพาะท่าที่จะใช้นำมาเต้นออกกำลังกายกับจังหวะเพลงมีมากไม่จำกัดท่า หากเลือกท่าที่ใช้เต้นไม่ถูกต้องแล้วต้องเกิดการบาดเจ็บต่อผู้เต้นแอโรบิคอย่างแน่นอน   ท่าอันตรายที่ไม่ควรนำมาใช้
              1.  ท่าที่เกี่ยวกับการ ย่อ ยืด กระตุกบริเวณหัวเข่า จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บตรงข้อ ทำให้เป็นข้อเสื่อม
              2.  ท่าที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เช่น การบริหารหน้าอกห้ามแอ่นหลัง มิฉะนั้นจะปวดหลังถาวร    การบริหารหน้าอกที่ถูกต้องนั้นแขนควรตั้งขนานกับลำตัวตั้งฉากกับหัวไหล่
              3.  หลีกเลี่ยงการหมุนข้อต่อเชื่อมกับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะคอ หรือ ข้อมือ ข้อเท้า  ควรใช้วิธีเหยียด พับขึ้น พับลง มากกว่า

ข้อควรระวังอื่นๆ

             เป็นที่ทราบกันดีผู้ที่เต้นแอโรบิกต้องมีช่วงอายุที่เหมาะสม  ไม่เป็นบุคคลที่อายุมากเกินไปเพราะระบบอวัยวะในร่างกายของคนอายุมากมักจะทนต่อการเต้นที่ใช้เวลานานไม่ได้ หรือผู้ที่เต้นจะต้องไม่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการออกกำลังกายชนิดนี้ เช่น โรคหัวใจ